ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 
โรคปากเบี้ยว (bell’s palsy)

             คนบางคนอยู่ๆตื่นขึ้นตอนเช้าก็รู้สึกตกใจที่พบว่ามีอาการปากเบี้ยวข้างหนึ่ง โดยที่แขนขาแข็งแรงเป็นปกติ แล้วอาการจะค่อยๆดีขึ้น จนหายเป็นปกติได้ อาการดังกล่าวนี้เรียกว่า “โรคปากเบี้ยว” เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าอัมพาตไปครึ่งซีก ภาษาหมอเรียกว่า “อัมพาตปากเบี้ยว” (facial palsy) บ้างก็เรียก “เบลล์พัลซี” (bell’s palsy)

สาเหตุ

             เป็นเพราะเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 ที่เรียกว่า “เส้นประสาทใบหน้า”(facial nerve) เกิดการอักเสบ ซึ่งจะเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น ทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าทั้งซีกที่เส้นประสาทนั้นไปเลี้ยงเกิดอาการอัมพาตชั่วคราว แล้วก็ค่อยๆฟื้นตัว เมื่ออาการอักเสบหายสนิทกล้ามเนื้อส่วนนั้นก็กลับมาทำงานได้ตามปกติ  ส่วนอะไรทำให้เส้นประสาทใบหน้าเกิดการอักเสบยังบอกไม่ได้แน่ชัด บางคนอาจพบว่าเป็นหลังจากตากลม หรือถูกอากาศเย็น ส่วนน้อยที่อาจมีสาเหตุชัดเจน เช่น พบร่วมกับโรคงูสวัดที่ขึ้นบริเวณใบหน้าหรือตรวจพบว่ามีโรคเบาหวานหรือความดันเลือดสูงร่วมด้วย หรืออาจเกิดขึ้นภายหลังจากการได้รับบาดเจ็บตรงบริเวณใบหน้า เป็นต้น
             โรคนี้พบได้พอประมาณในคนทุกเพศทุกวัย แต่พบมากในคนอายุ 20-50 ปี จัดว่าเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แม้ดูอาการน่าตกใจแต่จะค่อยๆฟื้นตัวได้เองภายใน 2-8 สัปดาห์ ถึงแม้จะไม่ได้ใช้ยารักษาก็สามารถหายได้เองตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะหายได้สนิท แต่อาจมีคนไข้ประมาณร้อยละ 20 ที่อาจหายไม่สนิท มีร่องรอยของอาการปากเบี้ยวให้เห็นอยู่บ้าง บางคนกว่าจะหายได้สนิท ก็อาจกินเวลาตั้งแต่ 2 เดือนถึง 2 ปี คนที่มีอายุมากอาจฟื้นตัวได้ช้ากว่าคนอายุน้อย

รู้ได้อย่างไรว่าไม่ได้เป็นโรคอื่น

             โรคนี้มีลักษณะเฉพาะ คือ อยู่ๆก็สังเกตว่ามีอาการปากเบี้ยวไปข้างหนึ่ง กลืนน้ำหรือบ้วนปากจะมีน้ำไหลออกที่มุมปากข้างนั้น เวลายิ้มหรือยิงฟันจะเห็นมุมปากข้างนั้นตก ขณะเดียวกันก็พบว่าตาข้างเดียวกับข้างที่ปากเบี้ยวจะไม่สามารถปิดให้มิดได้ และคิ้วข้างนั้นก็ยักไม่ได้ แต่แขนขายังแข็งแรงเป็นปกติ สามารถทำงานได้ตามปกติทุกอย่าง และพูดคุยได้ชัดเจนเหมือนเดิม ถ้าอยู่เฉยๆคือไม่พูดไม่ยิ้ม ไม่หลับตาและยักคิ้วก็จะดูไม่ออกว่ามีอาการผิดปกติ
             อย่างไรก็ตาม คนที่เป็นโรคอัมพาตของแขนขาครึ่งซีก ก็อาจมีอาการปากเบี้ยวข้างหนึ่งได้ แต่ต่างกันที่คนพวกนี้จะหลับตาได้มิดและยักคิ้วได้ ดังนั้นเมื่อสังเกตว่ามีอาการปากเบี้ยว ควรสังเกตว่าแขนขาแข็งแรงดีหรือไม่ ซึ่งจะแยกโรคปากเบี้ยวออกจากโรคอัมพาตของแขนขาครึ่งซีกได้

เมื่อไรควรไปพบแพทย์ 

              ผู้ที่มีอาการปากเบี้ยวควรไปพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อสืบสาวหาสาเหตุให้แน่ชัด

แพทย์จะทำอะไรให้

              แพทย์จะตรวจให้แน่ชัดว่าไม่ได้เป็นโรคอัมพาตของแขนขาครึ่งซีก ในรายเป็นโรคปากเบี้ยวอาจตรวจหาสาเหตุซ่อนเร้น เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ถ้าพบก็จำเป็นต้องรักษาโรคเหล่านี้ไปพร้อมกัน สำหรับผู้ที่เป็นโรคปากเบี้ยวที่ตรวจไม่พบสาเหตุแน่ชัด แพทย์จะให้ยากลับไปรักษาที่บ้านดังนี้

  1. ให้กินยาเม็ดเพร็ดนิโซโลนเพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาทใบหน้า ระยะแรกจะให้กินวันละ 12-16 เม็ด แล้วจะค่อยๆลดลง แล้วหยุดยาภายใน 10 วัน ยานี้จัดอยู่ในกลุ่มสตีรอยด์ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงร้ายแรงหากใช้ไม่ถูกต้อง คนไข้ไม่ควรซื้อยาใช้เอง ควรให้แพทย์เป็นผู้กำหนดการใช้ที่ถูกต้อง ยานี้จะช่วยลดการอักเสบทำให้โรคทุเลาได้เร็วกว่าปล่อยให้หายเองตามธรรมชาติ
  2. ใช้ขี้ผึ้งป้ายตาที่เข้ายาปฏิชีวนะ เช่น ยาป้ายตาเทอรามัยซิน ป้ายตาข้างที่ปิดไม่มิดวันละ 2-3 ครั้ง เพื่อป้องกันมิให้ตาเกิดการอักเสบ ควรใส่แว่นกันแดดหรือใช้ผ้ากอซปิดตาข้างนั้นไว้ เพื่อป้องกันมิให้ถูกฝุ่นถูกลมจนเกิดการอักเสบได้

              คนไข้ควรสังเกตดูอาการที่เปลี่ยนแปลงทุกวัน จะพบว่าภายใน 1-2 สัปดาห์ กล้ามเนื้อใบหน้าตอนบนจะเริ่มฟื้นตัวได้ก่อน กล่าวคือจะยักคิ้วและปิดตาได้มากขึ้น ส่วนอาการปากเบี้ยวจะทุเลาทีหลัง ดังนั้นคนไข้ควรทำท่ายักคิ้วและหลับตาดูทุกวันเมื่อเริ่มสังเกตว่าทำได้แล้วก็แสดงว่ามีโอกาสหายได้ในเร็ววัน ในรายที่เป็นมากหรือฟื้นตัวช้า แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัดเพิ่มเติม เช่น ใช้ไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตเพื่อช่วยให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น บางรายอาจจำเป็นต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด

              โดยสรุป โรคปากเบี้ยวเกิดจากกล้ามเนื้อใบหน้าซีกหนึ่งไม่ทำงาน เนื่องจากเส้นประสาทใบหน้าข้างนั้นเกิดการอักเสบ โดยไม่ทราบสาเหตุเป็นส่วนใหญ่ เป็นโรคที่ไม่มีอันตราย จะหายได้เองภายใน ๒-๘ สัปดาห์

การดูแลรักษาตนเอง

เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคปากเบี้ยว ถึงแม้แขนขาจะเป็นปกติดี(แน่ใจว่าไม่ได้เป็นโรคอัมพาตของแขนขาครึ่งซีก) ก็ควรจะไปพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจหาสาเหตุที่อาจซ่อนเร้นอยู่ และรับการรักษาจากแพทย์เพื่อช่วยให้อาการฟื้นตัวเร็วขึ้น แล้วควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

  1. ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง
  2. บางรายแพทย์อาจแนะนำให้รับการรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด ก็ควรไปรับการรักษาตามคำแนะนำ
  3. ขณะอยู่บ้าน พยายามบริหารกล้ามเนื้อใบหน้าด้วยการฝึกแยกเขี้ยว ยิงฟัน แล้วใช้มือยกมุมปากข้างที่เป็นอัมพาตขึ้นตามไปด้วย ทำวันละ 2-3 ครั้ง ๆ ละ 5-10 นาที

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th